วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การให้คำปรึกษาวัยรุ่น



ตัวอย่างการให้คำปรึกษาวัยรุ่น

https://www.youtube.com/watch?v=wJscsOgeWTA



พัฒนาการปกติของวัยรุ่น
            วัยรุ่น จะเริ่มต้นตอนอายุประมาณ  12-13 ปี  แม้ว่าบางคนจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว  เช่น  บางคนอายุ  9-10  ปีอาจเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว  ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ  สมัยนี้มีแนวโน้มจะเป็นวัยรุ่นเร็วกว่าสมัยก่อน  เนื่องจากความสมบูรณ์ทางร่างกายที่ดีขึ้น   เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี ในชั้นประถมปลาย  ป.5-6  จะเห็นผู้หญิงจะเป็นสาวมากกว่าผู้ชาย   เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว  พัฒนาการของวัยรุ่นจะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ  18 ปี จึงจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  ในช่วงวัยรุ่นนี้จะสังเกตตัวเองได้ว่ามี

http://www.rakluke.com/article


การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ในพัฒนาการด้านต่างๆ  ดังนี้
1.พัฒนาการทางร่างกาย
          การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย   การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั่วไป  และการเปลี่ยนแปลงทางเพศ   เนื่องจากวัยนี้ มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนของการเจริญเติบโตอย่างมากและรวดเร็ว

2.
พัฒนาการทางจิตใจ
           สติปัญญา  วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาสูงขึ้น  อย่างมาก  และรวดเร็ว  จนมีความคิดเป็นแบบรูปธรรม  นั่นคือมีความสามารถเรียนรู้  เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ  ได้ลึกซึ้งขึ้น   มีความสามารถในการคิด  วิเคราะห์  และสังเคราะห์สิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามลำดับ   จนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้ว  จะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่  แต่ในช่วงระหว่างวัยรุ่นนี้ ความคิดยังอาจขาดความรอบคอบ  ขาดการยั้งคิดหรือไตร่ตรองให้รอบคอบ   มีความคิดที่รวดเร็วแบบหุนหันพลันแล่นมากกว่า  เมื่อโตขึ้นกว่านี้  จะมีความคิดที่สมบูรณ์ขึ้น  คิดรอบด้านได้มากขึ้น  โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆในชีวิตนั่นเอง


เป้าหมายของการพัฒนาวัยรุ่น

1.
ร่างกายที่แข็งแรง  ปราศจากความบกพร่องทางกาย  มีความสมบูรณ์  มีภูมิต้านทานโรคและปราศจากภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางกายต่างๆ  ควรเอาใจใส่กับร่างกาย  ไม่ปล่อยให้อ้วนไป  ผอมไป  หรือขาดอาหารบางอย่าง  ควรมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ให้ร่างกายสดชื่น  แข็งแรง  มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ
http://www.cronica.com.py/2015/10/03/ser-adicto-al-celu-puede-ser-mortal/

2.
เอกลักษณ์แห่งตนเองดี      - มีทักษะส่วนตัว  และทักษะสังคมดี  มีบุคลิกภาพดี      -  มีเอกลักษณ์ส่วนตัว  และเอกลักษณ์ทางเพศเหมาะสม
      - มีการเรียนและอาชีพ ได้ตามศักยภาพของตน  ตามความชอบความถนัด และความเป็นไปได้  ทำให้มีความพอใจต่อตนเอง      - การดำเนินชีวิต  สอดคล้องกับความชอบความถนัด  มีการผ่อนคลาย  กีฬา  งานอดิเรก  มีความสุขได้โดยไม่เบียดเบียนคนอื่น  มีการช่วยเหลือคนอื่นและสิ่งแวดล้อม      - มีมโนธรรมดี  เป็นคนดี


3. มีการบริหารตนเองได้ดี  สามารถบริหารจัดการตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบ   มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  ต่อประเทศชาติ และต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี
5.มีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี  เลือกคบเพื่อนที่ดี  รักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ได้ยืนยาว

ตัวอย่างประเภทของคำถาม

1. คำถามปลายเปิด (
open-ended question) เป็นคำถามที่มีคำตอบได้หลากหลาย มักใช้ในการสอบถามเบื้องต้น ในระยะแรกๆของการสัมภาษณ์ ที่ยังไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นจะตอบอย่างไร ดังตัวอย่างต่อไปนี้                              “อยากให้หมอช่วยเรื่องอะไร

                “เรื่องอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจ

     คำถามปลายเปิด มักจะได้คำตอบที่ตรงกับสิ่งที่วัยรุ่นคิด กังวล เป็นห่วง หรือรู้สึกว่าเป็นปัญหาอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากปัญหาที่วัยรุ่นคิด อาจไม่ตรงกับปัญหาที่พ่อแม่เป็นห่วงอยู่
http://www.wegointer.com/2015/02/50-qa-eng/


2. คำถามปลายปิด (close-ended question)  เป็นคำถามที่คาดหวังคำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบว่า มีหรือไม่มีสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์สงสัยอยู่ ไม่ควรใช้ในช่วงแรกๆของการสัมภาษณ์ เพราะอาจปิดกั้นการระบายปัญหาที่แท้จริงของวัยรุ่น ตัวอย่างคำถามปลายปิด

                “นอนหลับดีไหม

                “เบื่ออาหารหรือไม่

                “ท้อแท้ไหม

      คำถามปลายปิดมักใช้ในการสำรวจปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อตรวจสอบว่าวัยรุ่นมีหรือไม่มีอาการหรือปัญหาที่สงสัย มักใช้ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์
คำถามนำ (leading question) เป็นคำถามที่ส่งเสริมให้ตอบไปในทิศทางนั้น มักใช้ในกรณีที่วัยรุ่นลังเลที่จะตอบ เช่น

                “เพื่อนเคยชวนให้ลองใช้ยาเสพติดเหมือนกันใช่ไหม

                “ยาบ้านี่รสชาติเป็นอย่างไร  ชอบไหม

3. การกระตุ้นให้เล่าเรื่อง(facilitation)

                “หมอทราบเบื้องต้นมาว่า..................  คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นห่วงที่..................

                “ที่จริงคุณพ่อคุณแม่เล่าให้หมอฟังบ้างแล้ว แต่หมออยากฟังจาก.........(ชื่อ)เอง  ลองเล่าให้หมอฟังว่าเกิดอะไรขึ้น

4. การยอมรับ (
unconditioned positive regard)

                “เรื่องใดที่พูดลำบาก หรืออธิบายไม่ได้ ขอให้บอกหมอด้วย

                “ใครๆที่อยู่ในสภาพเดียวกับ......   คงจะทำใจยอมรับได้ลำบากเหมือนกัน

5. การสะท้อนความรู้สึก  (
reflection of  feeling)
https://rabbitfinance.com/blog/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%


                “......รู้สึกไม่พอใจที่คุณแม่ยึดโทรศัพท์มือถือไป

                “......โกรธที่ถูกทำโทษ
                การสะท้อนความรู้สึกจะช่วยให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกว่าแพทย์เข้าใจความรู้สึก เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การสะท้อนความรู้สึกช่วยในการตอบคำถาม หรือตอบสนองบางสถานการณ์ได้ เช่น
การให้วัยรุ่นได้ระบายความรู้สึก(ventilation)

                “บางทีการร้องไห้ หรือได้ระบายความทุกข์ใจไม่สบายใจก็ช่วยให้ใจสบายขึ้น

                “หมออยากให้.....เล่าเรื่องที่อาจไม่สบายใจ  แต่อาจทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ดีขึ้น

6. สรุปความ(summarization)

http://jaisamarnchurch.org/media/articles/property-counseling/


                “ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง คือคุณแม่ไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของ.....

(ที่มา : http://www.psyclin.co.th/new_page_55.htm)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น